วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การถือศีลอด มาจากภาษาอาหรับว่า "อัศ-เศาม" หรือ "อัศ-ศิยาม" ในทางภาษาหมายถึง การละ การงด การระงับยับยั้ง

การควบคุม ครองตน เช่นการละความชั่ว ยับยั้ง สิ่งต่างๆที่เกิดจากอารมณ์ฝ่ายต่ำ ส่วนความหมายในทางศาสนา หมายถึง

การละเว้นการบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม การร่วมสังวาสระหว่างรุ่งสางจนตะวันลับขอบฟ้า งดเว้นการพูดจาโกหกเหลวไหลไร้

สาระ เว้นจากการประพฤติชั่วทั้งโดยลับและเปิดเผย ถือปฏิบัติตามแบบอย่างที่ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ศ็อลฯ) ได้ทรง

กำหนดไว้ โดยให้ควบคุมพร้อมทั้ง มือ เท้า หู ตา ใจ ลิ้น และอวัยวะทุกส่วน มิให้ใช้ไปในทางไร้สาระ โองการในอัลกุรอาน

มีปรากฏว่า

2:183 "โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย การถือศีลอดนั้นได้ถูกกำหนดแก่สูเจ้า ดั่งที่ได้ถูกกำหนดแก่เขาเหล่านั้นก่อนหน้าสูเจ้ามา

แล้ว เพื่อว่าสูเจ้าจะได้สำรวมตนจากความชั่ว"

จากโองการนี้แสดงว่า การถือศีลอดนั้นได้เคยมีมาแล้วในประชาชาติก่อนๆ เราได้ทราบจากประวัติศาสตร์ว่า ชาวอียิปต์

โบราณนิยมถือศีลอดกันมาเป็นประจำ ต่อมาแพร่หลายไปยังชาวกรีกและโรมัน โดยเฉพาะชาวกรีกยังได้นำการถือศีลอดนี้

ไปใช้เป็นบทบังคับสตรี และชาวอินเดียยังคงนิยมการถือศีลอดตาตราบเท่าทุกวันนี้ ท่านนบีมูซา ศาสดาของชาวยิว ได้ถือ

ศีลอดเป็นเวลา 40 วัน ชาวยิวถือศีลอดเป็นเวลา 1 สัปดาห์ เพื่อระลึกถึงวันที่กรุงยะรุสลิม (เยรูซาเล็ม) ได้ถูกทำลายโดย

กษัตริย์บาบิโลน ก่อน ค.ศ. 587 และถูกทำลายซ้ำโดยชาวโรมันใน ค.ศ. 70

การถือศีลอดได้ปฏิบัติกันมาในรูปแบบต่างๆกัน บางพวกอดอาหารตลอดวัน บางพวกงดเพียงครึ่งวัน บางพวกบริโภคอาหาร

หนัก แต่ไม่ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มอื่นๆ และบางพวกงดบริโภคเนื้อสัตว์ แต่สำหรับอิสลาม การถือศีลอดหมายถึง การอด

อาหารเครื่องดื่ม การเสพเมถุน อดกลั้นทำความชั่วทุกชนิด แม้เพียงนึกคิด ตั้งแต่รุ่งสางจนตะวันลับชอบฟ้าในเดือนรอม

ฎอน (เดือนที่ 9 ตามปฏิทินทางจันทรคติขิงอิสลาม) ของทุกปี เป็นเวลาประมาณ 29 ถึง 30 วัน บทบัญญัตินี้ถูกกำหนด

บังคับใช้สำหรับมุสลิมทุกคน ซึ่งถูกบัญญัติในเดือนซะอบาน เดือนที่ 8 หลังจากท่านศาสดามุฮัมหมัด (ศ็อลฯ) อพยพจาก

มักกะฮสู่มาดีนะฮได้ 2 ปี (ปีฮิจเราฮที่ 2) และได้ปฏิบัติกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

การถือศีลอดเป็นการทดลองและฝึกหัดร่างกาย ให้รู้จักอดกลั้น ให้รู้จักสภาพอันแท้จริงของผู้ที่อัตคัดขัดสน ทำให้เกิด

ความเห็นอกเห็นใจกัน เป็นการขัดเกลาจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้วพ้นจากอำนาจใฝ่ต่ำ และมีคุณธรรม

กฏเกณฑ์ในการถือศีลอดและหลักปฏิบัติ

1.ผู้ถือศีลอด มุสลิมที่บรรลุศาสนภาวะ คือมีอายุ 15 ปี และหญิงที่เริ่มมีประจำเดือน ทุกคนต้องถือ

ศีลอด

จะแบ่งประเภทของผู้ถือศีลอดโดยทั่วไป พอจะแบ่งได้ดังนี้

*ผู้ต้องถือ ได้แก่ผู้มีร่างกายสมบูรณ์ ไม่เจ็บป่วย ไม่อยู่ในระหว่างการเดินทาง

*ผู้ได้รับการผ่อนผัน เมื่อมีเหตุการณ์เฉพาะหน้าอันได้แก่ ผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วย จะไม่สามารถถือศีลอดได้

หรืออยู่ ในระหว่างเดินทาง แต่เมื่อเหตุการณ์เฉพาะหน้านั้นหมดไป คือ หายป่วยหรือกลับจากเดินทางแล้ว

ก็ต้องถือใช้ให้ครบตามจำนวนวันที่ขาดไป โดยจะถือชดใช้ในวันใด เดือนไหน ในรอบปีนั้นก็ได้

*ผู้ได้รับการยกเว้น คือ

1.คนชรา

2.คนป่วยเรื้อรังที่แพทย์วินิจฉัยว่ารักษาไม่หาย

3.หญิงมีครรภ์แก่และแม่ลูกอ่อนที่ให้นมทารก ซึ่งเกรงว่าการถือศีลอดอาจเป็นอันตรายแก่ทารก

4.บุคคลที่สุขภาพไม่สมบูรณ์ ซึ่งเมื่อเขาถือศีลอดจะเป็นภัยต่อสุขภาพเสมอ

5.บุคคลที่ทำงานหนัก เช่น ในเหมือง หรืองานอื่นๆ ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและศรัทธาของเขาเองว่า

จะสามารถถือได้หรือไม่ โดยไม่ต้องลวงตัวเอง

บุคคลทั้ง 5 ประเภทนี้ ได้รับการยกเว้นโดยไม่ต้องถือเลย แต่ต้องชดใช้ด้วยการจ่ายอาหารเป็นทานแก่คนยากจน ด้วย

อาหารที่มีคุณภาพตามที่ตนใช้บริโภคตลอดทั้งเดือน หรือจะจ่ายเป็นค่าอาหารแทนวันต่อวัน โดยการบริจาคทานให้ต่าง

บุคคลก็ได้ "อัลลอฮฺ ทรงยกเว้นการถือศีลอด และนมาซส่านหนึ่งให้แก่ผู้เดินทาง และยกเว้นการถือศีลอดสำหรับหญิงมี

ครรภ์แก่ และที่ให้นมทารก" (อัส-สุนัน ของ อิมามอะหมัด) และรายงานจากอิบนิอับบาสว่า "หญิงมีครรภ์หรือให้นมทารก

นั้น ถ้าเกรงจะเป็นภัยแก่บุตรของนาง ทั้งสองก็ให้ละศีลอดได้ แต่ต้องชดใช้ด้วยอาหาร" (อบู-ดาวูดม อัล-บัซซาร)

**หญิงมีประจำเดือน ห้ามถือศีลอด แต่ต้องถือชดใช้ตามจำนวนวันที่ขาดไปในภายหลัง

**เด็กๆ ที่ยังไม่บรรลุศาสนภาวะ ไม่จำเป็นต้องถือศีลอดก็ได้ แต่ก็ควรฝึกหัดให้เคยชินต่อศีลอดบ้าง

ท่านเคาะลีฟะฮ อุมัรกล่าวว่า "แม้แต่เด็กของพวกเราก็ยังถือศีลอด" (อัล-บุคอรี 30:47)

2. กำหนดเวลาการถือศีลอด ข้อนี้มีปรากฏอย่างชัดเจนในอัลกุรอาน

2:187 "จงกินและจงดื่มจนกระทั่งความขาวของกลางวันกระจ่างจากความดำของกลางคืนในรุ่งสาง แล้จง

ถือศีลอดจนกระทั่งพลบค่ำ"

กล่าวคือให้เริ่มถือศีลอดตั้งแต่แสงอรุณขึ้น จนตะวันลับฟ้า ในช่วงดังกล่าวนี้ห้ามการกินการดื่มทุกประเภท

ห้ามร่วมสังฆวาส แต่นอกเหนือเวลาดัวกล่าวนี้ก็ไม่เป็นที่ห้าม.

3. สิ่งที่ทำให้เสียศีลอด

1.กิน ดื่ม สูบ เสพ หรือนัดถ์ โดยเจตนา

2.การร่วมประเวณี ในระยะเวลาที่ถือศีลอด

3.มีประจำเดือน

4.คลอดบุตร

5.เจตนาทำให้อสุจิเคลื่อนด้วยวิธีใดๆ

4. ประเภทของศีลอด

1.ศีลอดภาคบังคับ คือ ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน (เดือนที่ 9 ตามปฏิทินทางจันทรคติของอิสลาม)

เวลาประมาณ 29 หรือ 30 วัน โดยกำหนดวันแรกและวันสุดท้ายด้วยการปรากฏของดวงจันทร์เสี้ยวข้าง

ขึ้น (Newmoon) เป็นหลัก การถือศีลอดประเภทนี้เป็นบทบังคับแก่มุสลิมทุกคนที่บรรลุศาสนภาวะแล้ว

ทั้งนี้นอกเหนือจากบุคคลที่ได้รับหารยกเว้นผ่อนผันดังกล่าวข้างต้น ซึงบุคคลประเภทนี้จะต้องถือศีลอด

ชดใช้ในภายหลังเมื่อพ้นภาระจำเป็นนั้นแล้ว เท่าจำนวนวันที่ขาดไป โดยจะถือใช้ให้ครบจนกระทั่งผ่าน

รอบปี จะต้องเสียทั้งค่าปรับและถือใช้ด้วย เสียค่าปรับด้วยการให้อาหารแก่คนยากจนหนึ่งวันต่อหนึ่งคน

เช่นถ้าขาด 10 วัน ต้องเลี้ยง 10 คน ในกรณีที่ผู้ใดเจตนาฝ่าฝืนทำให้เสียศีลอดด้วยการร่วมประเวณี ใน

เวลาที่กำลังถือศีลอด จะต้องชดใช้ปรับโทษดังนี้
* ปล่อยทาสเป็นเชลย 1 คน
* ถ้าไม่มีให้ถือศีลอด 2 เดือนติดต่อกัน ถ้าขาดแม้เพียงวันเดียวต้องเริ่มต้นนับ 1 ใหม่
* ถ้าทำไม่ได้ให้บริจาคอาหารแก่คนยากจน 60 คน อาหารที่จะให้ต้องมีคุณภาพไม่เลวหรือ
ดีกว่าที่ตนใช้บริโภคประจำวัน


2.การถือศีลอดชดเชย นอกเหนือจากการถือศีลอดใช้ตามที่ได้กล่าวแล้วนั้น ยังมีการถือศีลอดชด

เชยอีก

ประเภทหนึ่ง ต่อกิจหนึ่งกิจใดซึ่งผู้นั้นไม่สามารถกระทำได้ในเวลานั้นๆ เช่น ในกรณีที่ผู้หนึ่งไม่สามารถ

ปฏิบัติตามวินัยต่างๆ ของเอียะห์ราม ให้ครบถ้วนเมื่อเวลาประกอบพิธีฮัจย์ได้ ก็ให้ผู้นั้นถือศีลอดชดเชย

3 วัน ทั้งนี้ ในเงื่อนไขที่ผู้นั้นไม่สามารถบริจาคทานหรือพลีกรรมสัตว์ได้ตามกำหนด

3.การถือศีลอดเพื่อลบล้างความผิดตามที่ปรากฏในอัลกุรอาน มีดังนี้

*เมื่อมุสลิมได้ฆ่ามุสลิมอีกคนหนึ่งโดยเข้าใจผิด ให้ปล่อยทาสเป็นอิสระ 1 คน แต่ถ้าไม่สามารถจะไถ่

ความผิดโดยการปล่อยทาสได้ ก็ให้ถือศีลอดแทนเป็นเวลา 2 เดือนติดๆกัน "? และผู้ใดฆ่าผู้ศรัทธา

โดยพลั้งผิด ดังนั้น(ผู้ฆ่าต้องให้มี)การปล่อยทาส(หรือทาสี)ผู้ศรัทธาคนหนึ่งเป็นไท และ(ต้องจ่าย)

ค่า ทำขวัญแก่ครอบครัวของเขา (ผู้ตาย) เว้นแต่ที่พวกเขายกเป็นทาน (ไม่เอาความ) ? แล้วถ้าผู้

ตายหาไมพบ (คือไม่มีทาสหรือไม่มีเงินซื้อ เช่น ในสมัยนี้หรือไม่มีเงินจ่ายค่าทำขวัญ) เขาต้องถือศีล

อด 2 เดือนติดต่อกัน (ตามวินัยในเดือนรอมฎอน)?" (อัลกุรอาน 2:92)


*ถือศีลอดลบล้างการหย่าแบบซิฮาร เป็นเวลา 2 เดือน การซิฮารนี้เป็นประเพณีเดิมของชาวอาหรับใน

สมัยก่อน และเมื่อเริ่มต้นเผยแพร่ศาสนาอิสลาม โดยเรียกภรรยาของตนว่าเป็นเสมือนมารดาของตน

เป็นการหย่าไปในเชิง แล้วก็ไม่ร่วมสังฆวาสกับนาง ในขณะเดียวกันนางไม่มีสิทธิ์หลุดพ้นจากการเป็น

ภรรยาโดยแท้จริงไปได้ นางต้งเป็นภรรยาในนาม ถูกทรมานและจำบ้านอยู่เช่นนี้ อิสลามได้เลิก

ระบอบนี้โดยสิ้นเชิง การถือศีลอดประเภทนี้จึงมีในสมัยโน้นเท่านั้น (ดูการหย่า)


*ถือศีลอดลบล้างความผิดเป็นเวลา 3 วันติดๆ กัน เมื่อผู้หนึ่งผู้ใดสาบานที่จะไม่กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่

ถูกต้องและชอบธรรม ในกรณีที่ผู้นั้นไม่สามารถปล่อยทาสให้เป็นอิสระหรือเลี้ยงคนยากจนถึง 10 คน

"อัลลอฮฺไม่ทรงยึดเอาตามคำไร้สาระ (ไม่เจตนา) ในการสาบานของสูเจ้าแต่อัลลอฮฺทรงยึดเอา

จากสูเจ้า ที่สูเจ้าได้ผูกพันธะสาบานไว้ (โดยเจตนา) ถึงการไถ่โทษของเขา คือการให้อาหารคนขัด

สนสิบคน ตามปริมาณเฉลี่ยที่สูเจ้าให้อาหารแกครอบครัวของสูเจ้า หรือให้เครื่องนุ่งห่มแก่พวกเขา

(สิบคน) หรือการปล่อยทาส (หรือทาสี) หนึ่งคน ถ้าผู้ใดหาไม่พบ (ไม่มีความสามารถที่จะปฏิบัติตาม

นั้นได้) เขาต้องถือศีลอดสามวัน นี้คือการไถ่โทษคำสาบานของสูเจ้า เมื่อสูเจ้าได้สาบาน..."

(อัลกุรอาน 5:89)

*ถือศีลอดลบล้างความผิดตามคำพิพากษาของผู้เที่ยงธรรม 2 คน เมื่อผู้นั้นล่าสัตว์ ขณะที่กำลังอยู่ใน

ระหว่างการประกอบพิธีฮัจย์ ในเงื่อนไขที่ว่าผู้นั้นไม่สามารถให้อาหารแก่คนยากคนจนได้

"บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงอย่าฆ่า(ด้วย)การล่าสัตว์(ป่า) ขณะที่สูเจ้ายังครองเอียะห์ราม และผู้ใดใน

หมู่สูเจ้าฆ่ามันโดยเจตนา การชดเชยของมันคือเยี่ยงที่เขาฆ่า จากปศุสัตว์ตามที่ผู้เที่ยงธรรมสองคน

จากหมู่สูเจ้าตัดสิน เป็นสิ่งพลีให้นำยังอัลกะอบะฮ (เพื่อเชือดและแจกจ่ายคนจน) หรือการไถ่โทษ

นั้นเขาต้องให้อาหารแก่คนขัดสนหรือเยี่ยงนั้นด้วยการถือศีลอด?" (อัลกุรอาน 5:89)

4.การถือศีลอดโดยอาสาในหลักการทั้ง 4 ของอิสลามคือ การดำรงนมาซ ซะกาต การถือศีลอดและ

การไปประกอบพิธีฮัจย์นั้น มีทั้งที่เป็นการบังคับ (ฟัรฎู) และทั้งที่อนุญาติให้กระทำโดยอาสา (นัฟล)

แต่ในการถือศีลอดโดยอาสานั้น มีข้อห้ามอยู่บ้างบางประการ ดังรายงานต่อไปนี้


"ท่านอิบนุอุมัร กล่าวว่า ท่านรสูลอูลลอฮฺ ทราบว่าฉันจะตกลงใจถือศีลอดในเวลากลางวันและตื่น

ในเวลากลางคืน ตราบเท่าที่ฉันยังมีชีวิตอยู่ (เมื่อถูกสอบถาม) ฉันรับว่าฉันได้กล่าวเช่นนั้นจริงท่านรสู

ลอูลลอฮฺกล่าวว่าท่านจะทนเช่นนี้ไม่ได้ ดังนั้นจงถือศีลอดและจงแก้การถือศีลอด และจงตื่นและจง

นอนและจงถือศีลอด (อาสา) เดือนหนึ่งเพียง 3 วัน เพราะกุศลกรรมนี้ได้รับการตอบแทน 10 เท่า

และนี่ก็เสมือนการถือศีลอดทุกๆวัน ฉันกล่าวว่าฉันทนได้มากกว่านี้ ท่านกล่าว ถ้าเช่นนั้น จงถือศีลอด

วันหนึ่งและจงอย่าถือศีลอดในอีกวันหนึ่ง (วันเว้นวัน) นี่เป็นการถือศีลอดของนบีดาวูด (อ.ล.) และนี่

เป็นการถือศีลอดโดยอาสาที่ดียิ่ง ฉันกล่าวว่า ฉันสามารถทนได้มากกว่านั้น ท่านกล่าวว่าไม่มีอะไรจะดี

กว่านี้อีกแล้ว" (อัลบุคอรี 30:56)

จากรายงานนี้ แสดว่าท่านศาสดาสนับสนุนให้ถือศีลอดโดยอาสาเพียงเดือนละ 3 วันเท่านั้น มิให้ถือ

ศีลอดทุกๆวันตลอดไป และมีรายงานอื่นว่าท่านแนะนำให้ถือศีลอด ดังนี้

1.ถือศีลอด 6 วัน ในเดือนเซาวาลต่อจากการถือศีลอดภาคบังคับในเดือนรอมฎอน

2.วันขึ้น 9-10 ค่ำเดือนมุหัรรอม

3.ถือได้หลายๆวันในเดือนซะอบาน

4.วันจันทร์ วันพฤหัสบดี ทุกสัปดาห์

5.วันขึ้น 13-14-15 ค่ำของทุกเดือน

6.วันเว้นวัน

วันห้ามถือศีลอด

1. วันอีดทั้ง 2 คือ วันอีดิ้ลฟิตรและอีดิ้ลอัฎฮา

2.วันตัซรีก คือวันที่ 11-12-13 เดือนฮัจย์

3.การเจาะจงถือเฉพาะวันศุกร์เท่านั้น

4.ถือตลอดปี

5.วันครบรอบการถือศีลอดภาคบังคับ (อีดิ้ลฟิตร) เมื่อวันแห่งการถือศีลอดได้สิ้นสุดแล้ว รุ่งขึ้นคือ

วันที่ 1 เดือนเซาวาล เป็นวัน "อีด" ห้ามถือศีลอดในวันนี้ เพราะเป็นวันแห่งการรื้นเริง ให้ทุกคนทั้ง

หญิงและเด็กๆ อาบน้ำแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้ แล้วไปชุมนุมกัน ณ ที่ที่กำหนดไว้

โดยพร้อมเพรียงกัน

***มุสลิมที่อยู่ในฐานะเหลือกินเหลือใช้ ให้บริจาคทานฟิฏเราะฮ์ด้วยอาหารพื้นเมืองที่ผู้บริจาคอาศัย

อยู่ เช่น ข้าวสาร เป็นจำนวน 1 ศออ์ แก่คนยากจน***

5. ผลจากการถือศีลอด

*ทำให้เกิดการสำรวมทั้งกายวาจาและใจ และเป็นการปกป้องตัวจากความชั่วทั้งมวล เพราะการถือศีล

อดมิใช่เพียงแต่เป็นการอดอาหารเท่านั้น แต่เป็นการอดกลั้นอวัยวะทุกส่วนมิให้เพลี่ยงพล้ำไปใน

ทางชั่วร้าย

*ทำให้รู้จักความหิวโหย เป็นการฝึกความอดทน และยังทำให้รู้ซึ้งถึงสภาพของผู้ยากไร้เป็นอย่างดี

เกิดความเห็นอกเห็นใจและช่วยเหลือเกื้อกูลกันอย่างเต็มที่

*เมื่อถึงฤดูกาลแห่งการถือศีลอด มุสลิมทุกคนไม่ว่ายากดีมีจน จะอยู่ในสภาพเดียวกันหมด เป็นการ

ยืนยันการศรัทธาโดยทางปฏิบัติอีกวิธีหนึ่ง มิใช่สักแต่ปากพูดว่าฉันศรัทธาๆ บรรดาเหล่านี้มิได้แข่ง

ขันในการอดอาหารเท่านั้น แต่พวกเขาแข่งกันในการอดหรือละเว้นจากการชั่วนานาชนิด ทำให้เกิด

ความสำนึกในการเป็นบ่าวของพระผู้เป็นเจ้าเหมือนๆ กัน เป็นการยืนยันหลักเสมอภาคและ

ภราดรภาพในอิสลามอีกด้วย