รอมฎอน


รอมฎอน
              เดือนรอมฎอน ( شَهْرُ رَمَضَانَ ) เป็น เดือนลำดับที่ 9 ของเดือนทางจันทรคติตามปีศักราชอิสลามอัลลอฮฺ์ซุบฮาน่าฮูว่าตะอาลาทรงกำหนดให้เดือนรอมฎอน เป็นฤดูหรือเทศกาล สำหรับการปฏิบัติศาสนกิจชิ้นสำคัญ ซึ่งเป็นหนึ่งในองคาพยพทั้งห้าของอิสลาม ( รู่ก่นอิสลาม 5 ประการ ) การถือศิลอดในเดือนรอมฎอนจึงมีฮุ่ก่มทางศาสนาเป็นวาญิบ อัลลอฮ์ทรงมีรับสั่งว่า

      ความหมาย “ โอ้บรรดาชนผู้มั่นในศรัทธาเอ๋ย การถือศิลอดได้ถูกบัญญัติให้เป็นภารกิจ ( ฟัรฏู ) ของพวกเจ้าทุกคน เช่นเดียวกับที่เคยถูกบัญญัติให้เป็นภารกิจของชนในยุคอดีตก่อนสมัยพวกเจ้า ด้วยหมายให้พวกเจ้าเกิดความสำรวม ( ตักวา ) ” บทอัลบะกอเราะฮ์ โองการที่ 183

อัลลอฮฺ์ยังทรงมีรับสั่งอีกว่า

        ความหมาย “ เดือนรอมฎอน เป็นเดือนที่ประทานอัลกุรอานลงมาเพื่อเป็นสิ่งชี้นำแด่มวลมนุษย์ชาติ และเพื่อเป็นหลักฐานแห่งทางนำ และการจำแนกแยกแยะระหว่างดีชั่ว (คือระหว่างความจริงกับความเท็จ ) ดังนั้นเมื่อผู้ใดในหมู่พวกเจ้าเข้าสู่เดือนนั้นแล้วเขาจงถือศิลอดเดือนนั้น เถิด ” จากบทอัลบะกอเราะฮ์ โองการที่ 185 ท่านรอซูลุลลอฮ์กล่าวว่า

         ความหมาย “ ศาสนาอิสลามตั้งมั่นอยู่บนหลักพื้นฐาน 5 ประการ ( องค์ประกอบของการเป็นอิสลามทั้งห้า ) คือ . . . . . และ (4) การถือศิลอดในเดือนรอมฎอน . . . . ” จากบันทึกของอัลบุคอรีย์และมุสลิม
     นักวิชาการผู้ชำนาญการด้านประวัติศาสตร์อิลามส่วนมากระบุตรงกันว่า การถือศลิอดเดือนรอมฎอนนั้นถูกกำหนดให้เป็นฟัรฎู (กิจบังคับ) ครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 เดือนชะอฺบานตรงกับปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 2 นักวิชาการหลายท่านอธิบายว่า ในอดีตก่อนกำหนดศิลอดฟัรฎูในเดือนรอมฎอนนั้น ท่านรอซูลใช้ให้เหล่าสาวกถือศิลอด ในวันอาชูรออฺเพียงวันเดียว ( แบบฟัรฎู ) ต่อจากนั้นได้ยกเลิกการถือศิลอดวันอาชูรออฺ (โดยเหลือเพียงแค่เป็นซุนนะฮ์) และให้ถือศิลอดเดือนรอมฎอนแทน เป็นวาระๆกล่าวคือ แรกที่เดียวที่กำหนดให้ถือศิลอดเดือนรอมฎอนนั้น ประชาชนมีความรู้สึกว่าเป็นภารกิจที่หนักเอาการ ท่านรอซูลุลลออ์จึงอนุโลมให้ชั่วระยะหนึ่งสำหรับผู้ที่ยังไม่พร้อมและไม่ประสงค์ถือศิลอด ให้ไม่ต้องถือศิลอดได้แต่ต้องชำระอาหารเป็นการทดแทน ( คือ เปิดโอกาสให้เลือกเองว่าจะถือศิลอดหรือไม่ถือ )อัลลอฮฺ์ทรงมีรับสั่งว่า
       ความหมาย “ และให้เป็นหน้าที่แก่บรรดาผู้ที่ถือศิลอดด้วยความลำบาก (โดยเลือกที่จะงดการถือศิลอดตามปกติ ) ต้องชดเชยด้วยการจ่ายอาหารหนึ่งมื้อแก่ผู้ยากจนหนึ่งคน ” บทอัลบะกอเราะฮ์ โองการที่ 184
        ซึ่งครั้งนี้อัลกุรอานได้เน้นและส่งเสริมให้เลือกการถือศิลอดและระบุว่าการถือศิลอดมีความดีมากว่า อัลลอฮ์ทรงมีรับสั่งว่า
          ความหมาย “ หากแต่ผู้ใดอาสาสมัครใจทำสิ่งที่ดีกว่า แน่นอนมันย่อมเป็นกุศล (คุณากร)แก่ตัวเขาเอง และการที่พวกเจ้าเลือกถือศิลอดนั้น ย่อมเป็นการดีแก่พวกเจ้าเอง ” บทอัลบะกอเราะฮ์ โองการที่ 184
      และต่อมาภายหลังเมื่อประชาชนมีความพร้อมและสามารถถือศิลอดได้เป็นปกติแล้ว จึงกำหนดให้ถือศิลอดเพียงประการเดียว และไม่อนุโลมให้เลือกปฏิบัติเช่นแต่เดิม อัลลอฮ์ทรงมีรับสั่งอีกครั้งว่า
     ความหมาย “ ดังนั้นเมื่อผู้ใดในหมู่พวกเจ้าเข้าสู่เดือนนั้นแล้ว ( คือเข้าเดือนรอมฎอน ) เขาจงถือศิลอดเดือนนั้นเถิด ” จากบทอัลบะกอเราะฮ์ โองการที่ 185
หลักเกณฑ์การกำหนดเริ่มเข้าเดือนรอมฎอน



มาตรฐานการกำหนดเริ่มต้นเดือนรอมฏอน ( และเดือนอื่นๆด้วย ) ในระบบอิสลามนั้นให้พิจารณาจากผลการเห็นเดือนฮิลาล ( เดือนเสี้ยวข้างขึ้น ) ในค่ำของวันที่ 30 เดือนชะอ์บาน หากไม่ปรากฏว่ามีการเห็นเดือนฮิลาลด้วยสาเหตุทางภูมิอากาศ เช่น ฟ้าปิดเป็นต้นหรืออื่นๆ ให้ใช้เกณฑ์การนับเดือนชะอ์บานต่อให้ครบ 30 วัน จากนั้นให้นับวันต่อมาเป็นวันที่หนึ่งของเดือนรอมฎอนเลย นี่คือเกณฑ์มาตรฐาน ที่นักวิชาการอิสลามทุกยุคสมัย ตั้งแต่ยุคท่านรอซูลุลลอฮ์ ,ซอฮาบะฮ์,ตาบิอีนและสลัฟ ซอและห์ในยุคสมัยต่อๆมา



กรณีการเห็นเดือนฮิลาลนั้นให้ถือว่ามีผลต่อการกำหนดเริ่มต้นเดือนรอมฎอน เมื่อผู้เห็นนั้นเป็นไว้เนื้อเชื่อใจได้ แม้เพียงคนเดียวก็ตาม ซึ่งต่างกับการกำหนดสิ้นเดือนรอมฎอนและเริ่มเดือนเชาวาล นักวิชาการเห็นชอบเหมือนกันว่าไม่สามารถรับฟังการเห็นเดือนจากคนเพียงคน เดียวได้ในกรณีสิ้นเดืนรอมฎอน นอกจากต้องได้รับการรับรองจากชายที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้อีก 2 คน ร่วมยืนยันการเห็นเดือนฮิลาลสำหรับเดือนเชาวาล ท่านรอซูลุลลอฮ์กล่าวว่า

ความหมาย “ เมื่อพวกท่านเห็นเดือนเสี้ยว พวกท่านจงถือศิลอด ” บันทึกของอัลบุคอรีย์และมุสลิม

ความหมาย “ พวกท่านจงถือศิลอด (เข้าเดือนบวช) เมื่อเห็นเดือน (ฮิลาล) และพวกท่านจงหยุดถือศิลอด (ออกเดือนบวช) เมื่อเห็นเดือน (ฮิลาล) ดังนั้นหากปรากฏว่ามีเมฆหมอกมาบดบังแก่พวกท่าน (ไม่อยู่ในวิสัยที่จะเห็นได้) พวกท่านจงนับเดือนชะอฺบานให้เต็มครบ 30 วัน ” จากบันทึกของอัลบุคอรีย์และมุสลิม ท่านอับดุลลอฮิบนุอุมันรายงานว่า

ความหมาย “ ประชาชนต่างพากันเห็นเดือนเสี้ยว ข้าพเจ้าได้รายงานต่อท่านรอซูลุลลอฮ์ด้วยตัวเองว่าตัวข้าพเจ้าเองก็เห็น เดือนเสี้ยวด้วยเช่นกัน ดังนั้นท่านรอซูลจึงได้ถือศิลอด และมีคำสั่งให้ประชาชนทั่วไปถือศิลอด ” จากบันทึกของอาบีดาวู้ด และอัลฮาเก็ม

นักวิชาได้กำหนดคุณลักษณะของผู้ยืนยันการเห็นดวงจันทร์หรือเดือนเสี้ยว เพื่อให้มีผลต่อการกำหนดเข้าและออกเดือนไว้ว่า ผู้เห็นจะต้องเป็นมุสลิม , บรรลุศาสนภาวะแล้ว , มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์เยี่ยงปกติชนทั่วไป,และเป็นผู้ที่มีคำพูดคำจาที่ สามารถไว้เนื้อเชื่อใจได้ และต้องมีสายตาปกติดีไม่มีปัญหา. ดังนั้นข่าวการเห็นดวงจันทร์จึงไม่สามารถรับฟังได้จากบุคคลต่อไปนี้ (1) เด็กเล็กยังไม่บรรลุศาสนภาวะ แม้จะรู้เดียงสาบ้างแล้วก็ตาม (2) คนบ้า,คนวิกลจริต,คนขาดสติ,คนเมาและผู้ที่มีลักษณะใกล้เคียง (3) คนกาเฟร หรือคนต่างศาสนา (4) คนชั่วที่ชอบโกหกพกลมปลิ้นปล้อนพูดจาไม่อยู่ในร่องในรอยกลับกลอกไปมา และ (5) คนตาบอดหรือมีสายตาไม่ปกติฝ้าฟางไม่สามารถมองเห็นได้ เช่นปกติชนทั่วไป

เมื่อมีการเห็นดวงจันทร์ผู้เห็นด้วยตัวเองต้องถือศิลอดทันที ส่วนผู้ที่รับทราบการยืนยันการเห็นดวงจันทร์ ผู้รับทราบการเห็นต้องถือศิลอด ตามการเห็นนั้นๆทันทีด้วยเช่นกัน โดยไม่ต้องยึดถือเรื่องเขตแดน , ภูมิประเทศ (มัฏละอฺ) หรือการคำนวณตามหลักดาราศาสตร์หรืออื่นใดทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะท่านรอซูลลุลลอฮ์ กำหนดเกณฑ์มาตรฐานไว้แล้ว คือ (1) ด้วยการเห็นดวงจันทร์ และ (2) ด้วยการนับเดือนเก่าให้ครบสำหรับกรณีไม่สามารถมองเห็นดวงจันทร์เท่านั้น ไม่อนุญาตให้ยึดถือเกณฑ์อื่นๆ เช่นเกณฑ์การคำนวณ ทางดาราศาสตร์เป็นมาตรฐานโดยเด็ดขาด.

รอมฎอนเป็นเดือนแห่งความดีและความจำเริญ ซึ่งอัลลอฮฺ มอบให้โดยเฉพาะสำหรับเดือนนี้ ด้วยคุณประโยชน์อันมากมาย และชัดแจ้งดังต่อไปนี้



1. เดือนแห่งอัลกุรอาน



อัลลอฮฺ ทรงประทานคัมภีร์อันทรงเกียรติของพระองค์มาเพื่อเป็นแนวทางที่ถูกต้อง แก่มวล มนุษย์ ละเป็นการเยียวยาบำบัด สำหรับบรรดามุอฺมินผู้ศรัทธา และเป็นการชี้นำไปสู่แนวทางที่เที่ยงตรงยิ่ง และชี้แนะแนวทางแห่งการมีจิตสำนึก และความรับผิดชอบ ในค่ำคืนอันมหาประเสริฐคืนอัลก็อดรฺ พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า

ความ ว่า "เดือนรอมฎอนซึ่งอัลกุรอานถูกประทานลงมาในเดือนนั้น เพื่อเป็นแนวทางที่ถูกต้องแก่มวลมนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดแจ้งเกี่ยวกับข้อแนะนำ และการจำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ ดังนั้นผู้ใดในหมู่พวกเจ้าเข้าอยู่ในเดือนนั้นแล้ว ก็จงถือศีลอดในเดือนนั้น"

จาก อายะฮฺดังกล่าวข้างต้นว่า สาเหตุแห่งการเลือกเดือนรอมฎอน เพื่อให้เป็นเดือนแห่งการถือศีลอดก็คือ การประทานอัลกุรอานลงมาในเดือนนั้น



2. บรรดาชัยฏอนถูกพันธนาการและประตูต่างๆ ของนรกถูกปิด ประตูต่างๆ ของสวรรค์ถูกเปิด



ใน เดือนอันศิริมงคลนี้ความชั่วต่างๆ จะลดน้อยลงในแผ่นดิน โดยที่บรรดาหัวหน้าชัยฏอนจะถูกล่ามโซ่ และถูกพันธนาการ ดังนั้นพวกมันจะไม่มีช่องทางที่จะล่อลวงหรือชักชวนมนุษย์ให้กระทำความผิด หรือความชั่วได้ เพราะบรรดามุสลิมกำลังมีภารกิจอยู่กับการถือศีลอด ซึ่งจะขจัดหรือปราบปรามความใคร่ต่างๆ ให้หมดสิ้นไปด้วยการอ่านอัลกุรอาน และการทำอิบาดะฮฺชนิดต่างๆ ซึ่งจะอบรมและขัดเกลาจิตใจของเขา พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า

ความว่า "การถือศีลอดถูกบัญญัติแก่พวกเจ้า เช่นเดียวกับที่ได้ถูกบัญญัติแก่ประชาชาติก่อนพวกเจ้า เพื่อพวกเจ้าจะได้ยำเกรง" ดังนั้นประตูต่างๆ ของนรกจึงถูกปิด และประตูต่างๆ ของสวรรค์จึงถูกเปิด ทั้งนี้เพราะการงานที่ดีมีอยู่มากมาย และคำพูดที่ดีก็เพิ่มพูนอย่างสมบูรณ์

ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า

ความว่า " เมื่อเดือนรอมฎอนมาถึง ประตูต่างๆ ของสวรรค์ก็ถูกเปิด และประตูต่างๆ ของนรกก็ถูกปิด และบรรดาชัยฏอนก็ถูกพันธนาการไว้" ดังกล่าวนั้นจะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ในคืนแรกของเดือนรอมฎอน

ดังคำกล่าวของท่านนะบี

ความว่า " ในคืนแรกของเดือนรอมฎอน บรรดาชัยฏอนและหัวหน้าญินจะถูกพันธนาการ ประตูต่างๆ ของนรกจะถูกปิดจะไม่มีประตูใดๆ ถูกเปิดขึ้น จะไม่มีประตูใดๆ ถูกปิด และผู้เรียกร้องจะร้องเรียกขึ้นว่า โอ้ผู้ปรารถนาความดีจงมาที่นี่ และโอ้ผู้ปรารถนาความชั่วจงเก็บกักตัว และเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺที่จะปลดปล่อยบ่าวบางคนของพระองค์ ให้พ้นจากไฟนรกในทุกๆ คืน"



3. คืนอัลก็อดรฺ



การที่ อัลลอฮฺ ทรงเลือกเดือนรอมฎอน เพราะอัลกุรอานุลกรีมถูกประทานลงมาในเดือนนั้น ในการนี้เราอาจจะได้รับความด ีหรือผลประโยชน์สองประการในเดือนมหาจำเริญนี้

ก. วันที่ประเสริฐยิ่ง ณ ที่อัลลอฮฺ คือวันที่อยู่ในเดือนที่อัลกุรอานถูกประทานลงมา ดังนั้นจำเป็นจะต้องมีกิจกรรมพิเศษให้เพิ่มมากขึ้น ในการนี้จะมีหลักฐานยืนยันถึงการแสวงหาค่ำคืนอัลก็อดรฺด้วยการเจาะจงให้มาก ยิ่งขึ้น ด้วยการกระทำความดี ซึ่งจะได้กล่าวถึงเป็นรายละเอียดในบทที่เกี่ยวกับคืนอัลก็อดรฺต่อไป

ข. อัลเนี๊อะมัต หรือความโปรดปรานนั้น เมื่อบรรดามุสลิมได้รับแล้ว จำเป็นที่พวกเขาจะต้องขอบคุณต่ออัลลอฮฺ ด้วยการปฏิบัติภาระกิจให้มากยิ่งขึ้น หลักฐานที่พอจะนำมายืนยันเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือคำตรัสของอัลลอฮฺ หลังจากความโปรดปรานเมื่อสิ้นสุดลงของเดือนแห่งการถือศีลอดแล้วคือ

ความว่า "และเพื่อพวกเจ้าจะได้ให้ครบถ้วนจำนวน (แห่งการถือศีลอด) และเพื่อพวกเจ้าจะได้แซ่ซร้องความเกรียงไกรแด่อัลลอฮฺ ในการที่พระองค์ทรงชี้ แนะแนวทางที่ถูกต้องแก่พวกเจ้า และเพื่อพวกเจ้าจะได้ขอบคุณ"

และหวังจากความโปรดปรานเมื่อการทำพิธีฮัจย์ได้สิ้นสุดลงแล้ว ดังคำตรัสของพระองค์ที่ว่า

ความว่า "ครั้นเมื่อพวกเจ้าประกอบพิธีฮัจย์ของพวกเจ้าเสร็จแล้วก็จงกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺ ดังที่พวกเจ้ากล่าวรำลึกถึงบรรพบุรุษของพวกเจ้า หรือกล่าวรำลึกถึงให้มากยิ่งกว่า"





ศาสนกิจ 10 วันสุดท้ายของรอมฎอน สิ่งที่รัฐต้องทำความเข้าใจ



การ ถือศีลอดและปฏิบัติศาสนกิจในช่วงนี้ จะมีความเข้มข้นทั้งกลางวันและกลางคืน(โดยเฉพาะกลางคืน) หลายๆ กิจกรรมหากองค์กรของรัฐและหน่วยความมั่นคงไม่เข้าใจและไม่ทราบหลักปฏิบัติ ของชุมชนมุสลิมอาจจะนำไปสู่การเข้าใจผิดและอาจจะเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวอันนำไป สู่ความรุนแรงได้

ในขณะเดียวกันผู้ที่คิดร้าย(ส่วนน้อยของชุมชน)อาจจะฉวยโอกาสช่วงนี้สร้างสถานการณ์ได้เช่นกัน

หลักปฏิบัติช่วงท้ายของเดือนรอมฎอน

1.การ เอี๊ยะติกาฟ (การพำนักในมัสยิด) หมายถึง การพำนักอยู่ในมัสยิดโดยมีเจตนาปฏิบัติศาสนกิจต่ออัลลอฮฺเจ้ากล่าวคือ การอดกลั้นในแง่ของการกักตัวในที่ๆ จำกัด ไม่สามารถออกมาจากมัสยิด และไม่สามารถกระทำบางสิ่งบางอย่างที่สามารถทำได้ถ้าหากอยู่นอกการอิอฺติก้าฟ ในจำนวนนั้นคือ การหลับนอนกับภรรยา ถ้าหากการถือศีลอดไม่อนุญาตให้มีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลากลางวันเท่านั้น แต่อิอฺติก้าฟห้ามไม่ให้มีเพศสัมพันธ์กับภรรยาตลอดช่วงเวลาสิบวันไม่ว่าทั้ง กลางวันหรือกลางคืนดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ความว่า

“พวกเจ้าอย่าได้แนบเนื้อพวกนาง ในขณะที่พวกเจ้าเก็บตัวอยู่ในมัสยิด”



(อัล-บะเกาะเราะฮฺ 187)



เป้าหมายสำคัญก็คือ



- เพื่อ ปลีกตัวออกจากภารกิจทางโลก สู่การแสวงความผ่องแผ้วแห่งจิตวิญญาณเสริมสร้างพลังและศักยภาพเพื่อเป็นกลไก ที่จะเอื้ออำนวยให้กิจกรรมต่างๆ ในการดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างราบรื่นและดียิ่งขึ้นในอนาคต เพื่อทดสอบความอดทนทั้งกาย วาจา ใจ ตลอด 10 วัน

- เพื่อพยายามแสวงหาคืนอัล-ก็อดร์(ค่ำคืนที่พระเจ้าประทานผลบุญทวีคืนเทียบเท่าหนึ่งพันเดือน) ดังที่อัลลอฮฺทรงตรัสไว้ มีใจความว่า ... "(การประกอบความดีในค่ำคืน) อัล-ก็อดรฺดีกว่า (การประกอบความดี) หนึ่งพันเดือน (ในค่ำคืนอื่นจากค่ำคืนอัล-ก็อดรฺ)" (ซูเราะห์อัลกอดัร อายะห์ที่ 3) ท่านศาสดากล่าวไว้มีใจความว่า และ ผู้ใดที่ดำรงไว้ (อิบาดะห์) ในค่ำคืนอัล-ก็อดรฺด้วยความศรัทธาต่ออัลลอฮฺและหวังในความโปรดปรานและผลตอบ แทนจากพระองค์ผู้เดียวเท่านั้น แท้จริงเขาจะได้รับการอภัยโทษจากบาปทั้งหลายที่ผ่านมา (มุตตะฟะกุนอะลัยห์ : เศาะเฮี๊ยะห์ อัลบุคอรี 2/253 และเศาะเฮี๊ยะห์มุสลิมเลขที่ 760 (1/524))

เพื่อ ปฏิบัติตามแบบอย่างและวิถีชีวิตที่ท่านศาสดาเคยปฏิบัติ เพราะศาสดาไม่เคยละทิ้งศาสนกิจดังกล่าว นับตั้งแต่ท่านเริ่มเข้ามา ยังนครมาดี นะห์จวบจนกระทั่งท่านเสียชีวิต ท่านหญิงอะอีชะเราะฏิยัลลอฮุอันฮา ภรรยาศาสดา กล่าวว่า “ท่านศาสดาเมื่อเข้าสิบวันสุดท้าย จากเดือนรอมฏอนท่านจะมีความจริงจังในการประกอบศาสนกิจ (ที่มัสยิด) และนางยังกล่าวอีกว่าท่านศาสดาเอาจริงเอาจัง (ประกอบศาสนกิจ) ในช่วงสิบวันสุดท้ายรอมฏอนมากกว่า (การประกอบศาสนกิจ) ในช่วงอื่นๆ”

ทบทวนพฤติกรรมตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมาอย่างสงบ เพราะ มุสลิมเชื่อว่าการเอียะติกาฟสามารถ ทบทวนตน และการสร้างจิตใจภายใต้หลังคามัสยิด อันเป็นบ้านของอัลลอฮ คงสามารถจะบีบคั้นน้ำตาให้รินออกมาชำระล้างความโสมมในหัวใจ และสร้างพลังแห่ง ศรัทธาขึ้นใหม่ได้







2.การละหมาด ช่วง 10 วันสุดท้าย จะมีอยู่ 2 ช่วงที่สำคัญคือ



ละหมาดตะรอเวี๊ยะ ตั้งแต่เวลาประมาณ 19.30 -20.30 น.(ความเป็นจริงการละหมาดดังกล่าวกระทำมาตั้งแต่ต้นเดือนรอมฎอน แต่จะเข้มข้นมากขึ้นในช่วง 10 วันสุดท้าย ถูกบัญญัติให้ละหมาดรวมกันเป็นญะมาอะฮฺ (รวมกันที่มัสยิด)

ละหมาดตะฮัจยุด ตั้งแต่เวลาประมาณ 02.00น. - 04.30 น.(ช่วง กลางดึกถึงรุ่งอรุณ) ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ คนชรา จะไปละหมาดและปฏิบัติศาสนกิจในมัสยิดอีกครั้งหนึ่ง การละหมาดทั้งสองช่วงจะมีผู้คนมากที่สุดในคืนที่ 27 ของเดือนรอมฎอน.